TEL. 086-046-4635,081-014-8347 ID.line 0860464635

หน้าเว็บ

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com/

แอร์ใหม่ีราคาประหยัด ติดตั้งฟรี ล้างฟรี 2 ครั้ง

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ให้บริการล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ โคยช่างมืออาชีพ

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ติดแอร์ห้องนอนขอแนะนำยี่ห้อ มิตชูบิชิ มิชเตอร์สลิม เงีบย เย็นสบาย ไม่จุกจิก

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ล้างสม่ำเสมอช่วยยืดอายุการใช้งาน ไม่ทำให้แอร์ทำงานหนัก ประหยัดค่าไฟด้วย ควรล้างทุก 6 เดือนนะครับ

เคล็ดลับการใช้งานแอร์



ที่มา forfur.com
เคล็ดลับการใช้งานเครื่องปรับอากาศให้ประหยัดในยุคสมัยที่อะไรๆก็แพงไปหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวยาปลาปิ้ง ของใช้ต่างๆ ไปจนถึงพลังงานเช่น น้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคุณ
เคล็ดลับการใช้งานเครื่องปรับอากาศให้ประหยัด
ในยุคสมัยที่อะไรๆก็แพงไปหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวยาปลาปิ้ง ของใช้ต่างๆ ไปจนถึงพลังงานเช่น น้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคุณ และช่วยชาติประหยัดพลังงาน เรามีเคล็ดลับดีๆในการใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าไฟฟ้า และดูแลรักษาให้อยู่ทนนานโดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ
1. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม
เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง คือให้ความเย็นมากแต่กินไฟน้อย โดยดูที่การกินไฟฟ้าเป็นวัตต์ หรือแอมป์โดยควรเลือกที่มีค่าน้อย หรือดูจากค่า COP หรือ EER (Energy Efficiency Ratio) ซึ่งค่ายิ่งสูงยิ่งดี



2. ใช้เครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง

- ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมไม่เย็นจัดจนเกินไป โดยปกติห้องนอนควรตั้งที่ 26 °C เพราะขณะนอนหลับ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวมาก แต่ห้องที่ทำกิจกรรมเยอะ เช่น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และห้องอาหาร ตั้งไว้ประมาณ 24 °C
-ควรติดตั้งเทอร์โมสตัทให้ใกล้กับคอยล์ของอีวาพอเรเตอร์ในตำแหน่งลมกลับเข้าเครื่อง เพื่อทำให้การตัดต่อเป็นไปอย่างถูกต้อง
- เริ่มต้นเปิดเครื่องควรปรับระดับความเร็วพัดลมที่ความเร็วสูง (Hi) ก่อนเพราะจะทำให้เย็นเร็ว พอเย็นได้ที่แล้วค่อยปรับลดไปเป็นลมต่ำ (Low)


- อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเดนซิ่งยูนิตจะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออก รวมถึงไม่ควรวางขวางหน้าเครื่องเป่าลมเย็นด้วย เพราะเครื่องต้องทำงานหนักมากขึ้น
-ปิดเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน หากสามารถทราบเวลาที่แน่นอน ควรตั้งเวลาการทำงานของตัวเครื่องไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เครื่องหยุดเองโดยอัตโนมัติ
3. ลดความร้อน/ความชื้นจากภายนอกและภายในห้อง
-เปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด จะมีความร้อนออกมาขณะเปิดใช้งาน ทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น
-อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนมากควรใช้นอกห้อง เช่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หรือกาต้มน้ำ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้ติดตั้งฝาครอบระบายอากาศสำหรับเครื่องหุงต้มทุกชนิด
- ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้องหรือก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศสัก 2 ชั่วโมง ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาแทนที่อากาศในห้อง จะช่วยลดกลิ่นต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซื่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น


- ควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิทขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้ อากาศร้อนขื้นจากภายนอกเข้ามา อันจะทำให้เครื่องต้องทำงานมากขึ้น
- ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะความชื้นจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนักขึ้น
4. ใส่ฉนวนกันความร้อนที่ตัวบ้าน...วิธีนี้อาจต้องลงทุนซักหน่อยค่ะ โดยติดฉนวนที่เพดาน ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่หลังคาของบ้าน หรืออาจติดตั้งกระจก 2 ชั้นเพื่อลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ค่อนข้างมีประโยชน์ในระยะยาวค่ะ

5. บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศสม่ำเสมอ  


-หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องสามารถจ่ายความเย็นได้เต็มที่ตลอดเวลา
- หมั่นทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นด้วยแปรงนิ่ม ๆ และน้ำผสมสบู่เหลว อย่างอ่อนทุก 6 เดือน 
- ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็นด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่จับกันเป็นแผ่นแข็งและติดกันอยู่ตามซี่ใบพัดทุก 6 เดือน จะทำให้พัดลมส่งลมได้เต็มที่
- ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน โดยการใช้เแปรงนิ่ม ๆ และน้ำฉีด ล้างทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อนภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะสารทำความเย็นรั่วต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้ว ทำการแก้ไขพร้อมเติมให้เต็มโดยเร็ว 
- ตรวจสอบฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้เกิดฉีกขาด
-ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ นอกจากทำความเย็นแล้วยังช่วยทำให้อากาศสะอาด และควบคุมความชื้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเราด้วย ดังนั้นขั้นตอนตั้งแต่การเลือกซื้อ การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศจึงเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ ต้องศึกษาข้อมูลและใช้อย่างถูกต้อง จึงจะทำให้ใช้เครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและสนองความต้องการของเราได้อย่างเต็มที่ค่ะ

ราคาซ่อมแอร์ตันระบบ

       ซ่อมแอร์ตันระบบ
ตารางราคาค่าบริการ ( รับประกัน 90 วัน )
ขนาดบีทียู (BTU)

ราคา
ระยะเวลา
9,000 - 22,000
2,000.-
2 ช.ม.
23,000 - 28,000
2,300.-
2 ช.ม.
29,000 - 38,000
3,000.-
2.5 ช.ม.
39,000 - 48,000
3,200.-
2.5 ช.ม.
49,000 - 60,000
4,200.-
3 ช.ม.
61,000 - 80,000
6,000.-
3 ช.ม.

ซ่อมแอร์ตันระบบ คือ แอร์ที่เปิดมาแล้วเครื่องทำงานปกติทั้งตัวคอย์ลเย็นและคอย์ลร้อน แต่คอยล์เย็นด้านในไม่มีลมเย็นออกมา หรือมีลมเย็นออกมาได้ซักพักและก็ไม่มีความเย็นอีกเลย
          สาเหตุ !!  เกิดจากภายในท่อระบบน้ำยา มีความชื้นอยู่  ,  น้ำมันคอมเพสเซอร์ค้างในท่อระบบมาก ,  แคปทิ้วตัน  ,  ไดเอ้อตัน  
           
          การซ่อม  ไล่ระบบด้วยน้ำยาไล่ระบบและไนโตเจนแรงดันสูง  เปลี่ยนไดเอ้อ เปลี่ยนแคปทิ้วถ้าจำเป็น

**ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง**

ราคาย้ายแอร์เฉพาะคอล์ร้อน

ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ติดผนัง 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบติดผนัง ขนาด  9,000 - 15,000 BTU ราคา 1,700 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 18,000 - 24,000 BTU ราคา 2,000 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 28,000 - 36,000 BTU ราคา 2,700 บาท 

ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ตั้งแขวน  
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 2,000 บาท 

ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 20,000 - 24,000 BTU ราคา 2,500 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 28,000 - 30,000 BTU ราคา 3,000 บาท



ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์แบบสี่ทิศทาง 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 13,000 - 24,000 BTU ราคา 2,700 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 30,000 - 36,000 BTU ราคา 4,000 บาท


ค่าย้ายแอร์แบบตู้ตั้งพื้น 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 1,700-2,000 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 20,000 - 28,000 BTU ราคา 2,200 บาท
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 30,000 - 40,000 BTU ราคา 2,700 บาท
ราคาย้ายคอล์ยร้อนแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 42,000 - 60,000 BTU ราคา 3,500 -4,500 บาท

สายไฟ คิดเมตรละ 80 บาท
ท่อน้ำยา ท่อ 2 หุน และ 3 หุน คิดเมตรละ  300   บาท
                ท่อ 2   "     "    4  "           "           350      "
                  "    2    "     "    5  "           "          400       "
                   "    3   "     "    5  "            "         450       "
                     "     3   "     "    6 "           "          500       "
เพิ่มขาแขวนแอร์    ชุดเล็ก   400  บาท
                               ชุดกลาง  500  บาท
                               ชุดใหญ่    700  บาท
****ราคาอาจมีการเปลี่ยน กรุณาโทรเช็คก่อน !!!!

ราคาย้ายแอร์เฉพาะคอล์ยเย็น


ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ติดผนัง 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบติดผนัง ขนาด  9,000 - 15,000 BTU ราคา 1,700 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 18,000 - 24,000 BTU ราคา 2,000 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 28,000 - 36,000 BTU ราคา 2,700 บาท 

ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ตั้งแขวน  
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 2,000 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 20,000 - 24,000 BTU ราคา 2,500 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 28,000 - 30,000 BTU ราคา 3,000 บาท



ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์แบบสี่ทิศทาง 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 13,000 - 24,000 BTU ราคา 2,700 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 30,000 - 36,000 BTU ราคา 4,000 บาท


ค่าย้ายแอร์แบบตู้ตั้งพื้น 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 1,700-2,000 บาท 
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 20,000 - 28,000 BTU ราคา 2,200 บาท
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 30,000 - 40,000 BTU ราคา 2,700 บาท
ราคาย้ายคอล์ยเย็นแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 42,000 - 60,000 BTU ราคา 3,500 -4,500 บาท

สายไฟ คิดเมตรละ 80 บาท
ท่อน้ำยา ท่อ 2 หุน และ 3 หุน คิดเมตรละ  300   บาท
                ท่อ 2   "     "    4  "           "           350      "
                  "    2    "     "    5  "           "          400       "
                   "    3   "     "    5  "            "         450       "
                     "     3   "     "    6 "           "          500       "
เพิ่มขาแขวนแอร์    ชุดเล็ก   400  บาท
                               ชุดกลาง  500  บาท
                               ชุดใหญ่    700  บาท
****ราคาอาจมีการเปลี่ยน กรุณาโทรเช็คก่อน !!!!

ราคาย้ายแอร์ทั้งชุด


ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ติดผนัง 
ราคาย้ายแอร์ แบบติดผนัง ขนาด  9,000 - 15,000 BTU ราคา 2,700 บาท 
ราคาย้ายแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 18,000 - 24,000 BTU ราคา 3,200 บาท 
ราคาย้ายแอร์ แบบติดผนัง ขนาด 28,000 - 36,000 BTU ราคา 3,700 บาท 
* กรณีที่สายไฟเกิน หรือท่อน้ำยาเกิน จะคิดเพิ่มตามจริง โดยคิดราคาเป็นเมตรล่ะ 

ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์ตั้งแขวน  
ราคาย้ายแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 3,400 บาท 

ราคาย้ายแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 20,000 - 24,000 BTU ราคา 3,800 บาท 
ราคาย้ายแอร์ แบบตั้งแขวน ขนาด 28,000 - 30,000 BTU ราคา 4,400 บาท
* กรณีที่สายไฟเกิน หรือท่อน้ำยาเกิน จะคิดเพิ่มตามจริง โดยคิดราคาเป็นเมตรล่ะ

ราคาย้ายแอร์ ย้ายแอร์แบบสี่ทิศทาง 
ราคาย้ายแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 13,000 - 24,000 BTU ราคา 5,000 บาท 
ราคาย้ายแอร์ แบบฝังฝ้า 4 ทิศทาง ขนาด 30,000 - 36,000 BTU ราคา 7,000 บาท
* กรณีที่สายไฟเกิน หรือท่อน้ำยาเกิน จะคิดเพิ่มตามจริง โดยคิดราคาเป็นเมตรล่
 
ค่าย้ายแอร์แบบตู้ตั้งพื้น 
ราคาย้ายแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 13,000 - 18,000 BTU ราคา 3,000- 3,500 บาท 
ราคาย้ายแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 20,000 - 28,000 BTU ราคา 4,000 บาท
ราคาย้ายแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 30,000 - 40,000 BTU ราคา 4,500 บาท
ราคาย้ายแอร์ แบบตู้ตั้งพื้น ขนาด 42,000 - 60,000 BTU ราคา 5,000 -6,500 บาท
* กรณีที่สายไฟเกิน หรือท่อน้ำยาเกิน จะคิดเพิ่มตามจริง โดยคิดราคาเป็นเมตรล่ะ

สายไฟเกิน 10 เมตร คิดเมตรละ 80 บาท
ท่อน้ำยาเกิน 4 เมตร ท่อ 2 หุน และ 3 หุน คิดเมตรละ  300   บาท
                                 ท่อ 2   "     "    4  "           "           350      "
                                  "    2    "     "    5  "           "          400       "
                                   "    3   "     "    5  "            "         450       "
                                   "     3   "     "    6 "           "          500       "
เพิ่มขาแขวนแอร์    ชุดเล็ก   400  บาท
                               ชุดกลาง  500  บาท
                               ชุดใหญ่    700  บาท

ราคาล้างแอร์บ้าน

 
     

ค่าล้างแอร์แบบติดผนัง   
รายการ ราคารับประกันระยะเวลา
ขนาด 9,000 - 22,000 บีทียู40030 วัน-
  ขนาด 24,000 - 36,000 บีทียู50030 วัน -
  ขนาด 38,000 บีทียู >>70030 วัน -
    
ค่าล้างแอร์แบบแขวนใต้ฝ้าเพดาน   
รายการ ราคารับประกันระยะเวลา
 ขนาด 12,000-25,000 บีทียู50030 วัน-
 ขนาด 26,000-44,000 บีทียู70030 วัน -
  ขนาด 45,000-60,000 บีทียู 120030 วัน -
    
ค่าบริการล้างแอร์แบบ4ทิศทางและตู้ตั้งพื้น  
รายการ ราคารับประกันระยะเวลา
 ขนาด 12,000-25,000 บีทียู60030 วัน-
 ขนาด 26,000-44,000 บีทียู80030 วัน -
  ขนาด 45,000-60,000 บีทียู 120030 วัน -

เงื่อนไขการทำงาน


( ล้างใหญ่ )  คอยล์เย็น ( EVAPERRATOR )   
1.1 ล้างทำความสะอาดโบเวอร์ ด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง   
1.2 ล้างทำความสะอาดฟิลคอยล์ (EVAPERRATOR) ด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง 
1.3 ดูดและเป่าทำความสะอาดระบบท่อน้ำทิ้งด้วย (BLOVER)   
1.4 ล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (FILTER)  
1.5 ตรวจเช็คจุดต่อสายไฟภายในระบบ และยึดสกรูสายไฟให้แน่นหนา 
1.6 ตรวจเช็ครอบความเร็วของมอเตอร์พัดลม (FANCOLL)   
1.7 ตรวจเช็คสปีดและเทอร์โมรูม   
( ล้างใหญ่ )  คอยล์ร้อน ( CONDENSING UNIT )   
1.8 ล้างทำความสะอาดแผงครีบคอนเดนซิ่งด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงและ BLOVER 
1.9 ตรวจเช็คจุดต่อสายไฟภายในระบบ และยึดสกรูสายไฟให้แน่นหนา  
1.10 ตรวจวัดความดันของระบบน้ำยา เช็คกำลังอัดของคอมเพรสเซอร์ 
1.11 ตรวจเช็ตการทำงานของไทม์เมอร์ และอุปกรณ์ช่วยสตาร์ททุกชนิด ของระบบคอมเพรสเซอร์




วิธีประหยัดไฟ


11 วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุน

11 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้ อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ
1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น
ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง
พัดลมระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสารอาหาร หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ
นอกจากนี้ หากเป็นห้องประชุม ในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศเย็นก่อนจะมีคนเข้าใช้ห้อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ให้รอจนมีคนเข้าใช้ห้องประชุมเป็นจำนวนมากก่อน จึงเปิดพัดลมระบายอากาศก็ได้


2. ตั้งปิดจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่ใช้งาน
ในสำนักงานสมัยใหม่ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหนึ่งเครื่อง จะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ 250 วัตต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์
โดยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตโปรแกรม จึงมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้จอมอนิเตอร์ปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้สัมผัสคีย์บอร์ด หรือเมาส์ในระยะเวลาหนึ่ง
สำหรับผู้ใช้ Window 98 การตั้งเวลาสามารถทำได้ ดังนี้
1. เลือก My computer
2. เลือก Control Panel
3. เลือก Power Management
4. ตั้งค่า Power schemes เป็น Home/Office Desk


3.ตั้งอุณหภูมิ 28C แล้วเปิดพัดลมเสริม
ความเย็นสบาย หรือความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก ประการที่สมดุลกัน คือ
1. อุณหภูมิ
2. ความชื้นสัมพัทธ์
3. ความเร็วลม
หากต้องการระดับความสบายเท่าเดิม เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้
การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป
แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง 28-30 C โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน) โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

4. นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก
ผนังด้านที่มีความร้อนเข้ามามากทีสุดคือ ด้านตะวันออก และตะวันตก นอกจากความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาแล้ว เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังมีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาก และจะแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกร้อนขึ้น แม้อุณหภูมิในห้องจะเท่าเดิม ในห้องที่มีสภาพนี้จะต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 21-22 C จึงจะรู้สึกเย็นสบาย แต่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
การนำตู้ไปตั้งชิดผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในห้องที่ผนังห้องไม่ร้อน การตั้งอุณหภูมิที่ 25 C ก็จะเย็นสบายเพียงพอ
นอกจากป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังแล้ว การมีตู้ตั้งชิดผนัง ยังเสมือนว่ามีผนังหนาขึ้น จึงเป็นการช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำตู้ไปตั้งติดผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผนังด้านนั้นมีกระจกด้วย จะทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงกว่าอุณหภูมิห้อง ดังนั้น จึงควรระมัดระวังกรณีที่สิ่งของภายในตู้ไม่สามารถทนความร้อนได้

5. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้ และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์
ระบบปรับอากาศ (แบบน้ำเย็น) ใช้พลังงานประมาณ หน่วยต่อตันต่อชั่วโมง ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด ตัน เปิดใช้งานชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3 = 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ บาทต่อหน่วย) ในอาคารทั่วไปๆ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ
การปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้ห้องปรับอากาศจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
แต่ในขณะที่ปิดเครื่องปรับอากาศนั้น จะต้องไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ มิฉะนั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไปในห้องปรับอากาศและจะสะสมอยู่ที่ พื้นผนังเฟอร์นิเจอร์พรมกระดาษผ้าม่าน ฯลฯ เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไปเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อดึงเอาความร้อนและความชื้นนี้ออกไป ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเสียอีก

6. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องปรับอากาศ
อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะปล่อยความร้อนออกมา เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นใช้ ดังนั้น ภาระส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศจึงเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องปรับอากาศ
หากเราสามารถลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศโดยการย้ายออกไปตั้งไว้นอกห้องปรับอากาศได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มักมีอยู่ในห้องปรับอากาศแต่สามารถย้ายออกไปได้ เช่น
1. ตู้เย็น
2. ตู้ทำน้ำเย็น
3. เครื่องถ่ายเอกสาร
4. หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ
5. ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
6. หม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า
7. ฯลฯ


7. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง จะปล่อยความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟใช้ และความร้อนนั้นก็จะกลายเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ และต้องเสียพลังงานในการนำความร้อนนี้ทิ้งออกไปข้างนอกอีก
จะเห็นได้ว่า การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไฟฟ้าแสงสว่าง ในห้องปรับอากาศจะเป็นการเสียค่าไฟสองต่อ คือ
เสียค่าไฟที่อุปกรณ์หรือหลอดไฟใช้
เสียค่าไฟที่เครื่องปรับอากาศเพื่อนำความร้อนออกไปทิ้งนอกห้อง
ดังนั้น การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศจึงเป็นการประหยัดสองต่อ คือ ประหยัดที่ตัวอุปกรณ์และประหยัดที่เครื่องปรับอากาศ

8. งดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ
เมื่อมีการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็จะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้อง การระบายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้อง ก็จะทำให้มีอากาศจากภายนอกใหลเข้ามาในห้องทดแทนซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
หากงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศหรือเปิดเพียงช่วงสั้นๆ ก็เพียงพอซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้
นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ ยังลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ จึงทำให้มีฝุ่นละอองไปจับที่คอยล์น้อยเครื่องปรับอากาศ จึงมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอ และช่วยยืดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศไปได้

9. สวมเสื้อผ้าบางๆ
การสวมเสื้อผ้าบางๆ จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น จึงสามารถตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
ดั้งนั้น จึงควรรณรงค์ให้ผู้ที่ทำงานในห้องปรับอากาศหันมาใส่เสื่อผ้าบางๆ ไม่ควรใส่สูท เพื่อที่จะตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้

10. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท
หากปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท จะทำให้มีอากาศร้อนชื้นจากภายนอกรั่วใหลเข้าไปในห้องได้ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
มาตรการนี้ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าจะต้องกล่าวถึงอีกแต่กลับเป็นปัญหาที่พบบ่อย และละเลยกันมากที่สุด
นอกจากการปิดประตูหน้าต่างไม่สนิทรอยรั่วรอบๆ กรอบประตูและหน้าต่างก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ หากพบว่ามีรอยแยกและมีลมรั่วจากภายนอกเข้ามา ก็ควรดำเนินการแก้ไข เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน

11. ปิดผ้าม่าน
การปิดผ้าม่าน จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ตัวคนโดยตรงได้ และยังช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากผิวกระจกมาสู่ตัวคนด้วย ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเพื่อชดเชยการแผ่รังสีความร้อนจึงช่วยประหยัดพลังงานได้
นอกจากลดการแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคนแล้ว ผ้าม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกไปภายนอกได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนัก) จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง

การที่ทราบว่าการออกกำลังการเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพแต่ไม่ปฏิบัตินั้นย่อมไม่ทำให้เกิดสุขภาพดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ทราบวิธีการประหยัดพลังงานแต่ไม่ปฏิบัติก็ย่อมไม่สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานได้ 11 วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุนนี้ มีประโยชน์อย่างแน่นอน สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานได้ ช่วยให้คนรุ่นต่อไปมีพลังงานเหลือใช้นานขึ้น ช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้ลูกหลานของเรา
เมื่อท่านทราบแล้ว ช่วยกันปฏิบัติด้วยนะครับ