TEL. 086-046-4635,081-014-8347 ID.line 0860464635

หน้าเว็บ

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com/

แอร์ใหม่ีราคาประหยัด ติดตั้งฟรี ล้างฟรี 2 ครั้ง

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ให้บริการล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ โคยช่างมืออาชีพ

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ติดแอร์ห้องนอนขอแนะนำยี่ห้อ มิตชูบิชิ มิชเตอร์สลิม เงีบย เย็นสบาย ไม่จุกจิก

http://ศูนย์บริการแอร์บ้าน.blogspot.com

ล้างสม่ำเสมอช่วยยืดอายุการใช้งาน ไม่ทำให้แอร์ทำงานหนัก ประหยัดค่าไฟด้วย ควรล้างทุก 6 เดือนนะครับ

ัรับซ่อมเครื่องผ้าฝาหน้า-ฝาบน ให้บริการถึงบ้าน


เครื่องซักผ้า/เครื่องล้างจาน 850 บาท ( ท่อน้ำดี 4 เมตร น้ำทิ้ง 4 เมตร สายไฟ 4 เมตร สายดิน 4 เมตร เบรคเกอร์ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ ) 

เครื่องทำน้ำอุ่น/น้ำร้อน 1000/500 ( สายไฟ 8 เมตร สายดิน 8 เมตร เบรคเกอร์ )(แทนตัวเดิมหรือมีสายมาอยู่แล้ว 500บาท) 

เครื่องกรองน้ำ 500 บาท (ถ้าต้องทำ ไฟ เมตรละ30บาท น้ำ เมตรละ40บาท) 

เครื่องอบผ้า 500 บาท ( สายไฟ 4 เมตร สายดิน 4 เมตร เบรคเกอร์ ปลั๊ก ) 

รับติดตั้งกล่องหยอดเหรียญเครื่องซักผ้า 2200 บาท 

รับซ่อมตู้เย็น,ตู้เย็นแช่ ให้บริการถึงบ้าน

บริการ ซ่อมตู้เย็น ตู้แช่

ซ่อม ตัดผุทำสี และจำหน่ายอะไหล่ตู้เย็นทุกยี่ห้อ
อัตราราคาบริการซ่อมตู้เย็น ,ตู้แช่














 1. บริการเติมน้ำยาตู้เย็น R 12 เครื่องละ 250 บาท

 2. บริการเติมน้ำยาตู้เย็น R134 A เครื่องละ 400 บาท

 3. ค่าบริการเปลี่ยนขอบยางตู้เย็นฟุตละ 75 บาท ( ปีกเล็ก )

 4. ค่าบริการเปลี่ยนขอบยางตู้เย็นฟุตละ 100 บาท ( ปีกใหญ่ )

 5. ตัดผุทำสีตู้เย็นพร้อมพ่นกันสนิมแล้วแต่ขนาดของตู้

 6. จำหน่ายอะไหล่แท้จากศูนย์บริการทุกรุ่นทุกยี่ห้อราคาพิเศษ 


ไฟฟ้าคืออะไร



        พจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "ไฟฟ้า" ไว้ดังนี้   "ไฟฟ้า"เป็นพลังงานรูปหนึ่ง  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมาหรือการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนหรือโปรตอนใช้ประโยชน์ก่่อให้เิกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่

ไฟฟ้ามาจากไหน

     ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทั่วโลกทุกวันนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากหลายแหล่งด้วยกัน  คือ  ถ่าหิน  น้ำมัน  ก๊าซธรรมชาติ  น้ำ ลม แสงอาทิตย์  และเซลล์ไฟฟ้า (แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟด้วยปฎิกิริยาเคมีภายในเซลล์)  โดยการนำเอาพลังงานจากแหล่งต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าส่งไปตามสาย

ไฟฟ้าทำงานอย่างไร

      คุณสมษัติที่สำคัญของไฟฟ้าก็คือ  สามารถไหลไปได้โดยอาศัย "ตัวนำไฟฟ้า" ซึ่งเรามักเรียกปรากฏการณ์ไหลของไฟฟ้าว่า "กระแสไฟฟ้า" โดยการไหลของกระแสไฟฟ้านั้นจะไหลติดต่อกันจนครบวงจร โดยเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่้านตัวนำและไหลกลับมายังแหล่งจ่ายไฟฟ้าตัวเดิมอีกครั้ง  เรียกว่า "ครบวงจร" แต่ถ้ามีการตัดทางเดินของกระแสไฟฟ้าด้วยการให้ตัวนำไฟฟ้าขาดออกจากกัน ก็จะทำให้ไม่ครบวงจร ซึ่งการทำงานของสวิตช์ไฟที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้  ดังนั้นหากเราสัมผัสกับวงจรเพียงด้านใดด้านหนึ่งโดยได้ทำให้กระแสครบวงจร ไฟฟ้าก็ไม่อาจทำอันตรายเราได้ แต่อย่างไรก็ตาม  ไฟฟ้าอาจไหลผ่านทางอื่นได้  ทำให้เราเป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อไม่มั่นใจก็ไม่ควรสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า  

เครื่องมือ 9อย่างที่ช่างแอร์ต้องมี


ขึ้นชื่อว่าเป็นช่างแล้วนั้นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้เลยก็คือ”เครื่องมือช่าง”จำเป็นอย่างยิ่งยวดในการประกอบการงานอาชีพนั้น เป็นเครื่องทุนแรง แบ่งเบาภาระช่วยประหยัดเวลาในการทำงานด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นช่างอะไรก็ตามต่างก็มีเครื่องมือประจำกายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาที่บางทีก็เป็นเครื่องมือเฉพาะเจาะจงในงานช่างนั้นๆไม่เว้นแม้กระทั้งช่างแอร์ที่ต้องทำงานที่มีความแม่นยำสูง ทั้งการต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานหลายระบบไม่ว่าจะเป็น
ระบบแรงดันน้ำยาที่มีแรงดันสูง ระบบระบายน้ำทิ้งที่ต้องการระนาบที่ลาดเอียงถึงน้ำจะไหลและระบายได้ดีไม่เกิดปัญหาน้ำแอร์หยด ระบบการกระจายลม แรงดันลม ความเร็วลมที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการส่งความเย็นไปยังพื้นที่ทำความเย็นให้เพียงพอไม่มากหรือน้อยเกินไปเพราะหากส่งลมไปไม่พอแอร์ก็จะไม่เย็นในทางตรงข้ามหากส่งลมไปมากเกินไปก็เย็นจนหนาว ไม่เกิดความสบายซึ่งผิดกับหลักวิศวกรรมปรับอากาศที่ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปรับอากาศต้องเกิดความรู้สึกสบาย
ซึ่งทั้งนี้ต้องควบคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม และไหนจะระบบไฟฟ้าควบคุมอีกล่ะ เห็นไหมละครับว่าช่างแอร์ต้องเข้าไปทำงานกับหลายระบบหลายอย่างดังนั้นเครื่องมือช่างแอร์ดูแล้วคงไม่น้อยเลยครับ แตว่าวันวันนี้เราจะมาดูกันว่าเครื่องมือพื้นฐานสำหรับช่างแอร์ที่ต้องมีนั้นมีอะไรบ้าง
  1. ไขควง แน่นอนสำหรับสิ่งนี้ไม่มีไม่ได้ครับแนะนำให้เป็นแบบสลับด้ามได้เป็นที่นิยมสำหรับช่างแอร์มากเพราะการรื้อหรือประกอบแอร์นั้นแต่ละยี่ห้ออาจจะมีน็อตไม่เหมือนกันดังนั้นการสลับด้ามได้จึงเป็นสิ่งที่สะดวกรวดเร็วสำหรับช่างแอร์อย่างยิ่ง”champion”คือยี่ห้อที่ได้รับความนิยม
  2. คีม สำหรับตัด หนีบ จับ  อาจเป็นแบบมัลติฟังชั่นที่สมารถตัดสายไฟฟ้าขนาดเล็กได้ สามารถหนีบ จับ วัตถุที่ไม่ใหญ่มากนักที่ช่างแอร์นิยมใช้ก็เป็นยี่ห้อ “Top man”
  3. ประแจเลื่อน เป็นเครื่องมือสำหรับขันหรือไขน็อตขนาดใหญ่ส่วนมากแล้วสำหรับงานแอร์ใช้สำหรับขันบานแฟลหรือเซอร์วิสวาล์วที่คอล์ยร้อน
  4. ประแจแอลหรือประแจหกเหลี่ยม อันนี้ใช้สำหรับขันน็อตตัวหนอนที่มีกอยู่ที่เซอร์วิสวาล์วที่คอยล์ร้อน ใบพัดลมคอยล์ร้อน,คอยล์เย็น
  5. เกจ์วัดน้ำยา อันนี้สำคัญมากสำหรับวัดแรงดันน้ำยามีให้เลือกหลายรุ่นหลายราคา แต่ที่นิยมใช้กันก็ค Imperial gauge” ถึงแม้ราคาจะสูงไปหน่อย แต่เมื่อเทียบกับความแม่นยำที่ได้จากเกจ์น้ำยานี่ห้อนี้แล้วคุ้มค่าครับ อีกทั้งยังทนทานอายุการใช้งานยาวนาน แต่ก็ต้องอยู่ที่ผู้ใช้ด้วยว่าใช้อย่างถูกวิธีหรือไม่ เก็บรักษาไว้อย่างดีไม่แขวนทิ้งไปทั่ว
  6. แคล้มมิเตอร์ เป็นมิเตอร์สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะอาจมีฟั่งชั่นแถมว่าด้วยก็ยิ่งดีทั้งวัดความต้านทาน วักแรงดันไฟฟ้าได้ ฯลฯ
  7. ตัวจับท่อและบานแฟลท่อทองแดง อันนี้เป็นเครื่องมือเฉพาะด้านจริงๆครับนอกจากช่างแอร์,ช่างทำความเย็น แล้วช่างอื่นก็ไม่มีเครื่องมืออันนี้ครับอาจมี ช่างไฮโดรลิคที่ใช้บ้างแต่น้อย หน้าที่ของมันก็คือจับท่อทองแดง ตอกขยาบท่อ บายแฟล
  8. ปั้มทำสูญญากาศ Vacuum pump ก่อนทำการเติมสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เข้าไปในระบบท่อน้ำยา ต้องทำให้ภายในท่อกลายเป็นสูญญากาศเสียก่อน ทั้งตอนติดตั้งใหม่หรือซ่อมแซมระบบท่อน้ำยา เครื่องมือนั้นก็คือปั้มทำสูญญากาศหรือVacuum pump นั่นเองภาษาช่างมักเรียกสั้นๆว่า“แว๊กค่ำ” ยี่ห้อที่ดูแล้วดีและทนทานนานปีมาราถทำสูญญากาศได้เร็วก็น่าเป็น “Robin air”
  9. ตัวดัดท่อทองแดง “Bender” สำหรับดัดงอทองแดงแบบม้วนอย่าเอาไปดัดท่อทองแดงแบบเส้นนะครับ หักแน่นอนท่อทองแดง
ที่มา watcharaaircon.com

ประเภทของแอร์



โดยหลักๆแล้ว ประเภทแอร์สามารถแบ่งได้ถึง 6 ชนิดแอร์ใหญ่ๆ โดยแบ่งตามตำแหน่งใช้งาน/ติดตั้ง ซึ่งเครื่องปรับอากาศทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน และอาคารสำนักงานขนาดเล็กซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด มี 6 ชนิดของแอร์คือ แบบติดผนัง, แบบตั้ง/แขวน, แบบตู้ตั้ง, แบบฝังเพดาน, แบบหน้าต่าง, แบบเคลื่อนที่ (ประสิทธิภาพอาจขึ้นอยู่กับ ชนิดน้ำยาแอร์ด้วย) ซึ่งรายละเอียดของ เครื่องปรับอากาศแต่ละประเภทจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป
ส่วนประกอบของแอร์

ส่วนประกอบของแอร์บ้านมีอะไรบ้าง ?

แอร์ 1 เครื่อง 1 ชุด จะมีส่วนประกอบแอร์ ประกอบด้วย แฟนคอยล์ยูนิต (Fan coil unit) หรือ คอยล์เย็น (Indoor unit) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้อง เป็นตัวแอร์ที่ติดตั้งในที่พักอาศัย ซึ่งมีหน้าที่กระจายความเย็นออกจากตัวแอร์ ประกอบด้วยพัดลม และแผงคอล์ยเย็น

1. แอร์แบบติดผนัง (WALL TYPE)

แอร์แบบติดผนัง เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบเล็ก เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกขนาดเล็ก โดยส่วนมาก นิยมใช้ในบ้านพักอาศัย หรือห้องเช่าห้องแถวต่างๆ มีจุดเด่นคือ เงียบ และง่ายต่อการติดตั้ง แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก
แอร์แบบติดผนัง
แอร์แบบตั้งแขวน

2. แอร์แบบตั้งแขวน (Ceiling type / floor type)

แอร์แบบตั้งแขวน เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้อง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น ห้องนอน สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ซึ่งแอร์ประเภทนี้มีข้อดีคือ สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งพื้นและเพดาน รวมไปถึงมีการระบายลมที่ดี แต่จะมีเสียงดังในการทำงานนิดหน่อย

3. แอร์แบบตู้ตั้งพื้น (Package type)

แอร์แบบตู้ตั้ง เป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูงเหมือนตู้ และมีกำลังลมที่แรงมาก เหมาะกับบริเวณที่มีคนเข้า และออกอยู่ตลอดเวลา เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง เป็นแอร์ที่ติดตั้งง่าย แต่จะเปรืองพื้นที่ใช้สอย เพราะฉะนั้นควรมีการวางตำแหน่งที่เหมาะสม
แอร์แบบตู้ตั้ง
แอร์แบบฝังเพดาน

4. แอร์แบบฝังเพดาน (Built-in type)

แอร์แบบฝังเพดาน เป็นเครื่องปรับอากาศที่เน้นความสวยงามมากๆ โดยมีการซ่อนตัวแอร์ หรือฝังอยู่ใต้ฝ้าหรือเพดานห้องบริเวณต่างๆ เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงามและการตกแต่ง โดยที่ต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด แต่ข้อเสียคือการดูแลรักษาที่ยาก

5. แอร์แบบหน้าต่าง (Window type)

แอร์แบบหน้าต่าง เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวบรวมส่วนประกอบทั้ง คอนเดนซิ่ง และแฟนคอยล์ มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งแอร์ประเภทนี้ติดตั้งโดยการฝังที่ตำแหน่งกำแพงห้องได้เลย เพราะฉะนั้นการติดตั้งแอร์จึงจำเป็นต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่าง หรือเจาะช่องที่ผนังเพื่อติดตั้ง ระวังการกระเทือนของแอร์ด้วยหละ
แอร์แบบหน้าต่าง
และสุดท้าย 6. แบบเคลื่อนที่ (Movable type) เป็นแอร์ที่เริ่มมีความนิยมกันใช้มากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีจุดเด่นตรงที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และทำไปใช้งานได้ทุกพื้นที่ (เสียบปลั๊กใช้ได้เลย) แต่ข้อเสียก็คือ จะมีราคาแพง และให้ความเย็นไม่เท่าแอร์แบบติดตั้ง 

ทำไมแอร์จึงมีน้ำหยด

การที่มีน้ำหยดออกมาจากแฟนคอยล์ยูนิต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
1) ถ้าถาดน้ำหรือท่อน้ำทิ้งสกปรกหรืออุดตัน ก็แก้ไขโดยการทำความสะอาดหรือเปลี่ยนท่อน้ำใหม่
2) ถ้าฉนวนหุ้มท่อหนาไม่เพียงพอ ก็แก้ไขโดยการเพิ่มความหนาของฉนวน
3) ถ้าติดตั้งในที่ที่มีลมร้อนพัดผ่านตลอดเวลา ก็ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศจนเปลี่ยนสถานะ
มาเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนตัวแอร์ ได้ครับ (เหมือนน้ำที่เกาะอยู่บนผิวของแก้วน้ำเย็น)

ข้อเสียการเดินท่อน้ำยายาวๆ

ความยาวของท่อควรจำทำให้สั้นที่สุดที่จะสั้นได้ ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต โดยทั่วไปไม่ควรจะเกิน 15-20 เมตร 
เพราะการเดินท่อน้ำยายาวเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดลง เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักขึ้น 
และเกิดการสูญเสียพลังงานระหว่างทางมากกว่าปกติ 

น้ำยาแอร์ทำจากอะไร

น้ำยาแอร์หรือที่เรียกว่าสารทำความเย็น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับแอร์บ้านทั่วไป เป็นสารจำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) 
ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น และความถ่วงจำเพาะของสารในสถานะก๊าซจะหนักกว่าอากาศ โดยที่สารเหล่านี้จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่า
สารทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ในการทำความเย็น โดยที่สารทำความเย็นที่มีจุดเดือดต่ำจะถูกใช้ในการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ 
และสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดสูงจะถูกใช้ในทำความเย็นที่อุณหภูมิสูง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน 
สำหรับชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับแอร์บ้านก็คือ R-22 (Freon-22) 
โดยมีจุดเดือดอยู่ที่ -40.8 'C

EER คือ

EER (Energy Efficiency Ratio) เป็นค่าประสิทธิภาพพลังงานซึ่งคำนวณโดย การเอาค่าบีทียูมาหารด้วยจำนวนวัตต์ 
เช่น แอร์ 12,000 บีทียู ใช้พลังงาน 1,200 วัตต์ ค่า EER จะเท่ากับ 12,000 / 1,200 =10.0

แอร์เต็มบีทียู

คำว่า "แอร์เต็มบีทียู" คือ ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ตรงตามบีทียูที่กำหนดไว้ เช่น 12000 บีทียู ซึ่งการที่จะรู้ว่าแอร์เต็มบีทียูหรือไม่เป็นเรื่องที่ยากมากครับ เพราะจะต้องทำงานทดสอบจากห้องแล็บ (Laboratory)
ที่ได้มาตรฐาน จึงจะทราบว่าแอร์เครื่องนี้สามารถทำได้กี่บีทียู โดยทั่วไปแล้วมักจะดูกันที่รุ่นคอมเพรสเซอร์เป็นหลัก
ว่าคอมเพรสเซอร์รุ่นนี้สามารถทำความเย็นได้กี่บีทียู แต่ในความเป็นจริงการที่แอร์เครื่องหนึ่งจะทำความความเย็นได้กี่บีทียูนั้น
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของคอมเพรสเซอร์เพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอีกหลายอย่างโดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร
ว่าจะต้องการระบายความร้อนให้ได้เท่าไร โดยการออกแบบแผงคอยล์ มอเตอร์ ใบพัดลม ชุดอุปกรณ์ลดความดัน และคอมเพรสเซอร์
ให้เข้ากันและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้บีทียูตามที่ต้องการ 
 

บีทียูคือ

บีทียู( Btu : British Thermal Unit ) คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ )
สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลรี่หรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์
มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน
( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล
เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น มีความสามารถในการดึงความร้อน
ออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่า บีทียู ต่อ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลัก
วิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
 

ใช้แอร์ให้ประหยัดไฟ


1.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาทีสำหรับเครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5
2. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆเพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
3. ตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา C ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
4.ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตู ช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
5. ควรปลูกต้นไม่เพื่อบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป 
 

ฉลากประหยัดไฟเบอร์

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร
เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ด้ส่งเสริมให้ประชาชน ร่วมใจการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า และใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลด การใช้พลังงาน โดยรวมของประเทศจึงได้จัดตั้งโครงการ "ประชาชนร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า" โดยให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตหรือนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูง และใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด ทั้งในบ้านพักอาศัย และในภาคธุรกิจ กฟผ. ได้ขอความร่วมมือ กับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ให้เข้าร่วมโครงการเพื่อกำหนด ระดับประสิทธิภาพ และพัฒนาเครื่องปรับอากาศ เพื่อติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร ์5 ตามมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบ ค่าประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนด ประหยัดไฟเบอร์ 5 หมายถึง ท่านจ่ายค่ากำลังไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็นไม่น้อยกว่า 10,600 บีทียู (ซึ่งเครื่องปรับอากาศปกติโดยทั่วไปท่านจ่ายค่าไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็น ประมาณ 7,000-8,000 บีทียูเท่านั้น) สอบถามข้อมูล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 02-4368290-96 ( แสดงว่าถ้าใช้เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ประหยัดไฟฟ้า ประมาณ 35%) ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5  เป็นลักษณะป้ายสีเหลือง และระบุรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศตัวนั้น หากมีข้อสงสัยว่า เครื่องปรับอากาศของท่าน ประหยัดไฟฟ้าได้จริงหรือไม่ ถ้าพบยี่ห้อใดผลิตหรือจำหน่ายไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้ โทร. 0-24368290-96 

การบำรุงรักษาแอร์


เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการก็มีทั้ง แบบที่ทำเองได้ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ

การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำได้โดยการถอดแผ่นกรองอากาศ(Filter) มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า แล้วใส่กลับคืน ซึ่งอาจจะทำสัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และความสกปรก 
การรักษาแผ่นกรองให้สะอาดอยู่เสมอนั้นทำให้การระบายลมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว
ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย



การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง
โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ
เนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์
การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ
• วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่
• ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ
• หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น
• ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต

เลือกตำแหน่งติดแอร์

แฟนคอยล์ ยูนิต
- ถ้าเป็นห้องนอนควรวางให้ลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าด้านข้างลำตัวขณะนอนเสมอ เพราะถ้าให้ลมพัดจากศีรษะไปเท้า หรือเท้าไปศีรษะ จะส่งผลให้ไม่สบายได้ง่าย
- ไม่ควรวางเครื่องไว้เหนือเตียง เนื่องจากในการดูแลรักษา จะต้องมีการล้าง และปัดฝุ่นที่ฟิลเตอร์อยู่บ่อยๆ จะทำให้เตียงสกปรกง่าย ดังนั้นควรติดตั้งในบริเวณที่จะสามารถทำการซ่อม บริการได้สะดวก 
- อย่าตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินไป เพราะเมื่อนอนหลับแล้ว เราจะไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้อีก ทำให้ไม่สบายได้ง่ายเช่นกัน หรือหากทีรีโมทคอนโทรลก็ควรจัดให้อยู่ใกล้เตียง
- หากมีพื้นที่นั่งเล่นอยู่ในห้องนอน ก็ควรจัดให้ตำแหน่งเครื่องปรับอากาศส่งความเย็นไปหามากกว่าส่วนที่ใช้นอน เนื่องจากขณะนอนหลับเราต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ
- ควรวางแฟนคอยล์ยูนิตให้ใกล้ช่องเปิดหรือระเบียงที่มีคอนเดนซิ่งยูนิต วางอยู่ เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและดูแลรักษา

คอนเดนซิ่ง ยูนิต
- บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก
- ควรเว้นระยะห่างจากกำแพงมาถึงด้านหลังเครื่องไม่น้อยกว่า 10 ซม. และเว้นระยะด้านหน้าเครื่องไม่น้อยกว่า 70 ซม.
- ไม่โดนฝนสาดได้ง่าย
- บริเวณไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา
- บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนระบายออกมาได้โดยไม่รบกวนบริเวณข้างเคียง
- ตำแหน่งติดตั้งควรมีโครงสร้างแข็งแรงหรือใกล้คานหรือเสาเพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี
- ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง และในบริเวณที่สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสติดไฟ เนื่องจากน้ำยาแอร์เป็นแก๊สชนิดหนึ่งที่สามารถติดไฟได้ง่ายถ้ารั่ว
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่นบริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง เพราะสารทำความเย็นจะเกิดปฏิกิริยากับกรดซัลไฟด์ ทำให้เกิดแก๊สมีพิษต่อร่างกายเมื่อสูดดม
- ตำแหน่งที่ไม่กีดขวางทางเดิน

แอร์ทำงานอย่างไร

หลังจากที่เราได้ศึกษา ความรู้เบื้องต้น (Basics) และ ประเภทของระบบปรับอากาศ มาแล้ว ทาง “air-thai.com” จึงขออธิบายหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็ก ซึ่งก็คือ ระบบอากาศทั้งหมด (All-air system)แต่ก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่าส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มีอะไรบ้าง
1) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2) คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3) คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4) อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้

ภาพจาก http://www.me.utexas.edu
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป
หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

ระบบอินเวอร์เตอร์


ระบบอินเวอร์เตอร์






ระบบอินเวอร์เตอร์ INVERTER ดียังไง

ระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter)คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งจาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรนและนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร ใน การทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน
ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง

ประหยัดไฟได้อย่างไร เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอิน เวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น

ต่างกับระบบเดิมตรงไหน นอก จากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว

คุณสมบัติเด่น แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter

1.ประหยัดไฟกว่า 20 -30 % เนื่องจากระบบคอมเพรสเซอร์ทำงานลดรอบ (ความถี่) หลักการทำงาน เช่น แอร์บ้าน 12000 BTU พอห้องเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ระบบจะลดรอบการทำงานลงจะทำความเย็น อยู่ที่ 3000 BTU เท่านั้น เป็นการประหยัดไฟมาก

2.เย็นเร็วทันใจ ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ตอนเปิดเครื่องแรกๆ คอมเพรสเซอร์จะทำงานในรอบสูงสุด คือเท่าคอมย็นที่ 110% เช่น แอร์บ้าน ขนาด 12000 BTU จะทำความเย็นสูงสุดประมาณ 13500 BTU จะทำให้ห้องเย็นเร็วทันใจกว่า

3.รักษาอุณหภูมิห้องได้คงที่ การที่ระบบ อินเวอร์เตอร์ Inverter ทำงานต่อเนื่องโดยการเพิ่มหรือลดรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์ไม่มีหยุดเป็นช่วงๆ ทำให้อุณหภูมิจะนิ่งมาก รักษาอุณหภูมิได้คงที่กว่าไม่รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนระบบ แอร์บ้านธรรมดา

4.เสียงของเครื่องทำงานเงียบกว่า
 เนื่องจากคอมเพลสเซอร์มีการลดรอบการทำงาน ดั้งนั้นตอนที่ห้องเย็นดีแล้วคอล์ยเย็นและระบบฉีดน้ำยาจะลดเสียงการทำงานทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเงียบกว่า แอร์บ้าน รุ่นธรรมดา

5.อากาศสดชื่นกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ระบบรุ่นธรรมดา เวลาคอมเพรสเซอร์ตัด อากาศในห้องจะมีกลิ่นอับชื้น แต่ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter คอมเพรสเซอร์ไม่ตัดจะเป็นการลดรอบความเย็น จะไม่มีกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสดชื่นตลอดการใช้งาน

6.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับน้ำยาตัวใหม่ R410A ไม่ทำลายชั้นโอโซชั้นบรรยากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบนี้ ปี 2555 จะมีข้อบังคับในการใช้น้ำยาตัวใหม่ R410A สำหรับแอร์บ้านทุกเครื่อง ดั้งนั้นจะพูดได้ว่า แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เป็นแอร์อนาคต ที่ผู้บริโภคเลือกแล้วได้ประโยชน์คุ้มสุด

หมายเหตุ การตัดและเริ่มสตาร์ทของคอมเพรสเซอร์สำหรับแอร์บ้าน ระบบธรรมดา ช่วงออกตัวจะกินไฟสูงกว่าถึง 200 - 300 %

การเปรียบเทียบค่าไฟระหว่าง ระบบ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) กับ ระบบธรรมดา ประหยัดกว่า 20-30%

ระบบขนาด BTUมาตรฐานการทำงาน/วันค่าไฟ/เดือนค่าไฟ/ปีประหยัด/ปีเมื่อเทียบกับ10ปีประหยัดกว่า
ธรรมดา
9000b58 ชั่วโมง670 ฿7,500-8,000 ฿2,040 ฿20,400 ฿26%
INVERTER
2700 - 10900b58 ชั่วโมง500 ฿6,000 ฿
ธรรมดา
13000b58 ชั่วโมง920 ฿10,000-11,00 ฿3,000 ฿30,000 ฿28%
INVERTER
2900 - 13600b58 ชั่วโมง670 ฿8,000 ฿
ธรรมดา
18000b58 ชั่วโมง1,460 ฿16,500-17,500฿4,560 ฿45,600 ฿26%
INVERTER
3000 - 20500b58 ชั่วโมง1,080 ฿13,000 ฿
ธรรมดา
23000b58 ชั่วโมง1,750 ฿19,000-21,000฿6,000 ฿60,000 ฿30%
INVERTER
3000 - 24200b58 ชั่วโมง1,250 ฿15,000 ฿
B

หมายเหตุ ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวคอมเพรสเซอร์ ลดรอบ เพิ่มรอบ เองโดยอัตโนมัติ เหมื่อนตัวอย่างในตาราง เช่น รุ่น 9000 BTU ลดรอบทำความเย็นต่ำสุด 6700 BTU รอบสปีดทำความเย็นสูงสุด 10900 BTU ทำให้ประหยัดไฟยิ่งกว่า 


                                                             

Inverter


การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ นิยมเรียกกันว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverters) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง หรือควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้า และความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับได้ อินเวอร์เตอร์ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น

1. แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับสำรอง เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดขัดข้องขึ้น ที่เรียกกันว่า Stand-by Power supplies หรือ Uninteruptible Power Supplies โดยเรียกย่อๆ ว่า UPS ใช้เป็นระบบไฟฟ้าสำรองสำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดขัดข้อง Transfer Switch ซึ่งทำงานด้วยความเร็วถึง 1/1000 วินาที จะต่ออุปกรณ์เข้ากับอินเวอร์เตอร์จ่ายไฟกระแสสลับให้แทน โดยแปลงจากแบตเตอรี่ซึ่งประจุไว้ ขณะที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลัก

2. ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสสลับ โดยการเปลี่ยนความถี่ เมื่อความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับเปลี่ยนแปลง ความเร็วของมอเตอร์จะเปลี่ยนแปลงตามสมการ N=120f/N โดยที่ N = ความเร็วรอบต่อนาที, f = ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้าต่อวินาที และ P = จำนวนขั้วของมอเตอร์ ในการควบคุมนี้ถ้าต้องการแรงบิดคงที่ จะต้องรักษาให้อัตราส่วนของแรงดันต่อความถี่ที่จ่ายเข้ามอเตอร์คงที่ด้วย

3. ใช้แปลงไฟฟ้าจากระบบส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงชนิดกระแสตรง ให้เป็นชนิดกระแสสลับ เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้

4. ใช้ในเตาถลุงเหล็กที่ใช้ความถี่สูง ซึ่งใช้หลักการเหนี่ยวนำด้วยสนามแม่เหล็กทำให้ร้อน ( Induction Heating ) 


การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ



ระบบฟอกอากาศ


ระบบฟอกอากาศ


ระบบฟอกอากาศ



ระบบฟอกอากาศ


1. ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุ ที่อยู่ภายในเครื่อง

2. ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้าออกมานอกเครื่อง แบ่งเป็น

2.1 พ่นอนุภาคไฟฟ้า - เพียงอย่างเดียว

2.2 พ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ทั้งคู่

ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุ ที่อยู่ภายในเครื่อง จะดีสำหรับการดักจับฝุ่น ควัน เพราะจะถูกดูดเข้ามาในเครื่อง แต่ก็จะไม่ได้ผลในกรณีที่ผู้ใช้แอร์ยอมไม่เปลี่ยนแผ่นฟอก หรือทำความสะอาดตะแกรงประจุ บ่อยๆ สำหรับเชื้อโรคบางชนิดก็สามารถถูกดักจับได้เหมือนกัน แต่ก็ติดปัญหาที่ว่ามันไม่ตาย และสะสมอยู่ภายในเครื่อง สังเกตุได้จากการมีกลิ่นอับชื้นตอนเปิดแอร์ ซึ่งเป็นกลิ่นอับชื้นจากเชื้อราภายในเครื่อง สามารถทำให้คนเกิดอาการภูมิแพ้ได้ เช่น จาม คัดจมูก หนักหน่อยก็พัฒนาเป็นโรคหอบหืด

ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้า - ออกมานอกเครื่อง จะมีผลทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่มีต่อการฆ่าเชื้อโรค สลายกลิ่นอับชื้น

ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ออกมานอกเครื่อง (ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์) จะมีผลไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ที่ลอยในอากาศในห้อง ทุกซอกมุม หรือไปเจอกลิ่นอับชื้นที่ไหน ก็สลายกลิ่นเหล่านั้นให้หมดไปจากโลก ล่าสุด ค้นพบว่าพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถสลายสารก่อภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่นได้ ประสิทธิภาพเหล่านี้ถูกรับรองจากสถาบันวิจัยนานาชาติ แห่ง

ผู้ที่ควรใช้ระบบฟอกอากาศพลาสม่าคลัสเตอร์ได้แก่ 
1. ผู้มีโอกาสหรือเป็นโรคภูมิแพ้

2. เด็ก ทารก เพราะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ สังเกตุได้จากการเป็นหวัดบ่อย จามตอนเช้า

3. ผู้สูงอายุ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และ ควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้

4. ผู้สูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ เพราะสามารถกำจัดสารพิษก่อมะเร็งในควันบุหรี่ได้

5. ผู้ที่เป็นหวัดบ่อยๆ พลาสม่าคลัสเตอร์จะช่วยให้เป็นหวัดน้อยครั้งลงได้

6. คลีนิค โรงพยาบาล ย่านชุมชน ห้องอาหาร คาราโอเกะ เพราะสามารถกำจัดเชื้อโรค และสลายกลิ่นอับชื้น กลิ่นบุหรี่ ต่างๆ ได้ดี

ประเภทของระบบปรับอากาศ

“ การปรับอากาศคือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในบริเวณหนึ่งให้เป็นไป
ตามความต้องการ ” 
โดยทั่วไปแล้ว การปรับอากาศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้เป็น 2 ประเภท 

1) การปรับอากาศเพื่อความเย็นสบายเป็นการปรับอากาศที่มุ่งส่งเสริมความเย็นสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้คนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในที่บริเวณนั้นๆ เช่น การปรับอากาศภายในบ้าน สำนักงาน ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ 

2) การปรับอากาศเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นการปรับอากาศเพื่อควบคุมภาวะบรรยากาศในกระบวนการผลิต การทำงานวิจัย และการเก็บรักษาผลผลิตต่างๆ เช่น การปรับอากาศในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตอาหาร ฯลฯ 

ดังนั้น จึงต้องมีการเลือกระบบการปรับอากาศให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันระบบปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 ระบบ โดยแบ่งตามลักษณะการส่งความเย็น 

1) ระบบอากาศทั้งหมด ( All-air system) คือระบบที่ส่งเฉพาะอากาศที่ถูกทำความเย็นแล้วไปยังบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ ระบบนี้เหมาะสำหรับระบบเล็กๆ เช่นบ้านพักอาศัย หรือสำนักงานขนาดเล็ก 

2) ระบบน้ำทั้งหมด ( All-water system) คือระบบที่ส่งเฉพาะน้ำที่ถูกทำความเย็นจากส่วนกลางไปยังบริเวณที่ต้องการปรับอากาศแต่ละแห่ง ระบบนี้เหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์เกือบทุกประเภท เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบอากาศล้วน 

3) ระบบน้ำและอากาศ (Water-air system) คือระบบที่ส่งทั้งน้ำเย็นและอากาศจากส่วนกลางไปยังพื้นที่ปลายทางแต่ละห้อง โดยการนำเอาข้อดีของระบบน้ำที่สามารถนำพาความเย็นส่วนใหญ่ไปได้ดีกว่า และข้อดีของอากาศที่สามารถส่งด้วยความเร็วสูงกว่า จึงทำให้ใช้เนื้อที่ปล่องและเพดานไม่มากนัก แต่ต้นทุนในการของระบบนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ 

สัญญาณไฟกระพริบ แอร์Mitsubishi Heavy Duty

รุ่น SRK09xx  SRK50A SRK56A

1.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 1 ครั้ง      อุปกรณ์ที่เสีย  เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอย์ลเย็น

(กระเปาะแนบคอย์ล)
2.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 2 ครั้ง            "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ

(เซนเซอร์หัวไม้ขีด)
3.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 6 ครั้ง            "         มอเตอร์พัดลม indoor เสีย หรื

 แผงวงจรเสีย
4.ไฟ timer กระพริบ 5 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         คอมเพรสเซอร์,คาปาซิเตอร์,สารทำ
ความเย็นไม่เพียงพอ/รั่ว

รุ่นSRK10,13xxx(-2)

1.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 1 ครั้ง      อุปกรณ์ที่เสีย  เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอย์ลเย็น

(กระเปาะแนบคอย์ล)
2.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 2 ครั้ง            "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ

(เซนเซอร์หัวไม้ขีด)
3.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 6 ครั้ง            "         มอเตอร์พัดลม indoor เสีย หรือ

 แผงวงจรเสีย
4.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         คอมเพรสเซอร์,คาปาซิเตอร์

สารทำความเย็นไม่เพียงพอ/รั่ว

รุ่นSRK19,25xxx

1.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 1 ครั้ง      อุปกรณ์ที่เสีย  เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอย์ลเย็น

(กระเปาะแนบคอย์ล)
2.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 2 ครั้ง            "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ

(เซนเซอร์หัวไม้ขีด)
3.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 6 ครั้ง            "         มอเตอร์พัดลม indoor เสีย หรือ

 แผงวงจรเสีย
4.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         คอมเพรสเซอร์,เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย
5.ไฟ timer กระพริบ 5 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         สารทำความเย็นน้อย,เซนเซอร์ที่

ท่อดิสชาร์จเสีย,เซอร์วิสวาว์ลปิดอยู่
6.ไฟ timer กระพริบ 6 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         แผง power supply เสีย,

สายสัญญาณเสีย,แผงวงจรindoorหรือoutdoorเสีย
7.ไฟ timer กระพริบ 1 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ outdoorเสีย
8.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่แผงคอนเดนเซอร์เสีย
9.ไฟ timer กระพริบ 4 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย

รุ่นSRK25/35GZ-L1,SRK502Z-L,SRK13/22ZEV-S,SRK63ZE-S1 (รุ่นอินเวอร์เตอร์)

1.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 1 ครั้ง      อุปกรณ์ที่เสีย  เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอย์ลเย็น

(กระเปาะแนบคอย์ล)
2.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 2 ครั้ง            "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ(เซนเซอร์หัวไม้ขีด)
3.ไฟ timer สว่างค้าง  ไฟ run  กระพริบ 6 ครั้ง            "         มอเตอร์พัดลม indoor เสีย หรือ แผงวงจรเสีย
4.ไฟ timer กระพริบ 1 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ outdoorเสีย
5.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่แผงคอนเดนเซอร์เสีย
6.ไฟ timer กระพริบ 4 ครั้ง ไฟ run  กระพริบตลอด       "         เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย
                        ***ข้อ 4 5 6 ไฟ LED ที่ตัว Outdoor ไม่สว่าง***
7.ไฟ timer กระพริบ 1 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง       อุปกรณ์ที่เสีย  กระแสเกินเมื่อคอมฯทำงาน,คอมฯช๊อตกราวด์,

ไฟไม่ครบเฟส,ต่อขั้วผิด,PowerTR
8.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         รันแคป,น้ำยาน้อย,แคปทิ้ว,สเตรนเนอร์ตัน,EEVปิด

(วาว์ลอิเล็คทรอนิกส์)
9.ไฟ timer กระพริบ 3 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง             "         น้ำยามากเกินไป,คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนไม่ดี,

คอมฯล๊อค,แผงวงจรOutเสีย
10.ไฟ timer กระพริบ 5 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง           "         น้ำยาน้อย,เซนเซอร์ท่อฉีดเสีย,แคปทิ้ว,

สแตรนเนอร์ตัน,EEVปิด,แผงวงจรOutเสีย
11.ไฟ timer กระพริบ 6 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง           "         ไฟไม่เข้า,ไม่สื่อสารระหว่างเครื่อง,

แผงวงจร In/Outเสีย
                        ***ข้อ 7-11 ไฟ LED ที่ตัว Outdoor กระพริบเท่ากับไฟ timer ***
12.ไฟ timer กระพริบ 7 ครั้ง ไฟ run  สว่างค้าง ไฟLEDที่Outdoorกระพริบ7ครั้ง   คอมฯเสีย
                                                      ไฟLEDที่Outdoorสว่างค้าง        พัดลมOutเสีย,

แผงวงจรOutเสีย
13.ไฟ timer กระพริบ 2 ครั้ง ไฟ run กระพริบ 2 ครั้ง                 คอมฯเสีย,แผงวงจรOutเสีย


**ข้อสังเกตุของการดูสัญญาณไฟกระพริบ ถ้าไฟสีเขียวกระพริบ แสดงว่าอุปกรณ์ที่มีปัญหา อยู่ในชุดแฟนคอล์ย ยูนิต
    ถ้าไฟสีส้มกระพริบ อุปกรณ์ที่มีปัญหา อยู่ในชุด คอนเดนซิ่ง ยูนิต



ขอบคุณ คุณclindalin01 ช่างแอร์ มหาจักร

ราคาติดตั้งแอร์


  ตารางราคาค่าบริการ ติดตั้งแอร์ใหม่

ขนาดบีทียู (BTU)ท่อระบบสายไฟเบรกเกอร์ราคาการรับประกันระยะเวลา
ขนาด 9,000 - 22,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด2,500.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 23,000 - 28,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด3,000.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 29,000 - 38,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด3,500.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 39,000 - 48,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด4,500.-90 วัน4.5 ช.ม.
ขนาด 49,000 - 60,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด5,500.-90 วัน4.5 ช.ม.
ขนาด 61,000 - 80,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด8,500.-90 วัน4.5 ช.ม.

รายละเอียดของ อุปกรณ์ในการติดตั้ง
ฉนวนหุ้มท่อหนา 3 หุน ( 3/8 นิ้ว )
ใช้กับท่อทองแดงความหนา (นิ้ว)
1/2*( 4หุน )3/8 นิ้ว
5/8*( 5หุน )3/8 นิ้ว
3/4*( 6หุน )3/8 นิ้ว
** พร้อมพันท่อน้ำยาด้วย เทปพันท่อน้ำยา ชนิดเนื้อเรียบ


ส่วนเกินในการติดตั้ง
BTU (บีทียู)ท่อน้ำยา/เมตรสายไฟ/เมตร
9,000 - 22,000350.-35.-
23,000 - 28,000370.-40.-
29,000 - 38,000400.-50.-
39,000 - 48,000470.-65.-
49,000 - 60,000600.-80.-
61,000 - 80,000700.-100.-

             รายการเพิ่มเติมที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
>เมื่อต้องการขนส่งหรือติดตั้งต่างสถานที่ เพิ่ม ค่าขนส่ง 300 บาท
>เมื่อต้องการล้างทำความสะอาดก่อนการติดตั้ง เพิ่ม 200 บาท
>ใกรณีต้องการขาแขวนคอยล์ร้อนคอยล์เย็นJZK - QM เพิ่ม 400 บาท
>การรับประกัน 60 วัน เฉพาะสาเหตุที่มาจากการขนย้ายและการติดตั้ง
>ระยะเวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับระยะทางในการย้ายแอร์ไปติดตั้งใหม่
>ฟรีอุปกรณ์กรองความชื้น (ดรายเออร์ - CH)
>ฟรี แวคคั่ม-เติมนํ้ายาเต็มระบบ
>ตรวจสอบและทดลองเดินระบบการใช้งานจริง
             หมายเหตุ !
>ระยะเวลาการย้ายและติดตั้งเป็นเวลาโดยประมาณ ขึ้นอยู่ที่สถานที่ในการติดตั้ง
>การย้ายและติดตั้งเป็นแบบปกติทั่วไป ตามอุปกรณ์มาตรฐาน
>ในราคาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาวะปัจจุบัน
>ราคาดังกล่าวเป็นราคาเฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมนฑลเท่านั้น
>รับประกันงานเฉพาะกรณีที่เกิดจากการติดตั้ง

***พนักงานจะแจ้งรายละเอียดให้ลูกค้าทราบก่อน จนเป็นที่พอใจ ก่อนดำเนินการทำงานตามขั้นตอนที่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ***





ตารางราคาค่าบริการ ติดตั้งแอร์เก่า

ขนาดบีทียู (BTU)ท่อระบบสายไฟเบรกเกอร์ราคาการรับประกันระยะเวลา
ขนาด 9,000 - 22,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด2,700.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 23,000 - 28,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด3,200.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 29,000 - 38,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด3,700.-90 วัน3.5 ช.ม.
ขนาด 39,000 - 48,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด4,700.-90 วัน4.5 ช.ม.
ขนาด 49,000 - 60,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด5,800.-90 วัน4.5 ช.ม.
ขนาด 61,000 - 80,000 บีทียู4 เมตร10 เมตร1 ชุด9,500.-90 วัน4.5 ช.ม.

รายละเอียดของ อุปกรณ์ในการติดตั้ง
ฉนวนหุ้มท่อหนา 3 หุน ( 3/8 นิ้ว )
ใช้กับท่อทองแดงความหนา (นิ้ว)
1/2*( 4หุน )3/8 นิ้ว
5/8*( 5หุน )3/8 นิ้ว
3/4*( 6หุน )3/8 นิ้ว
** พร้อมพันท่อน้ำยาด้วย เทปพันท่อน้ำยา ชนิดเนื้อเรียบ

                  รายการเพิ่มเติมที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
 

>เมื่อต้องการขนส่งหรือติดตั้งต่างสถานที่ เพิ่ม ค่าขนส่ง 300 บาท
>เมื่อต้องการล้างทำความสะอาดก่อนการติดตั้ง เพิ่ม 200 บาท
>ในกรณีต้องการขาแขวนคอยล์ร้อนคอยล์เย็นJZK - QM เพิ่ม 400 บาท
>การรับประกัน 60 วัน เฉพาะสาเหตุที่มาจากการขนย้ายและการติดตั้ง
>ระยะเวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับระยะทางในการย้ายแอร์ไปติดตั้งใหม่
>ฟรีอุปกรณ์กรองความชื้น (ดรายเออร์ - CH)
>ฟรี แวคคั่ม-เติมนํ้ายาเต็มระบบ
>ตรวจสอบและทดลองเดินระบบการใช้งานจริง


                 หมายเหตุ !
 

>ระยะเวลาการย้ายและติดตั้งเป็นเวลาโดยประมาณ ขึ้นอยู่ที่สถานที่ในการติดตั้ง
>การย้ายและติดตั้งเป็นแบบปกติทั่วไป ตามอุปกรณ์มาตรฐาน
>ราคาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาวะปัจจุบัน
>ราคาดังกล่าวเป็นราคาเฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมนฑลเท่านั้น
ค่าติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ค่าติดตั้งแอร์บ้าน แบบตั้ง/แขวนใต้ฝ้า ,ตู้ตั้ง (Ceiling or Standing Type)
ขนาดบีทียู
ราคา/บาท
ท่อน้ำยา
สายไฟ
ท่อน้ำทิ้ง
กรณีมีส่วนเกินจากหน้างาน
Btu/hr
Price/Baht
ไม่เกิน 5 เมตร
ไม่เกิน 10 เมตร
3/8 ไม่เกิน 5 M
ท่อน้ำยา/บาท
สายไฟ/บาท
ท่อน้ำทิ้ง/บาท
รางครอบท่อ/บาท
12,000 - 20,000
3,500
5 เมตร
220V./ 2x2.5 SM.
5 เมตร
เมตรละ 400
เมตรละ 50
เมตรละ 50
เมตรละ 350
20,100 - 28,000
4,000
5 เมตร
220V./ 2x4 SM.
5 เมตร
เมตรละ 500
เมตรละ 100
เมตรละ 50
เมตรละ 350
28,100 - 32,000
4,500
5 เมตร
220V./ 2x4 SM.
5 เมตร
เมตรละ 600
เมตรละ 100
เมตรละ 50
เมตรละ 350
32,100 - 38,000
5,500
5 เมตร
380V./ 1x4 SM.
5 เมตร
เมตรละ 700
เมตรละ 200
เมตรละ 50
เมตรละ 350
38,100 - 48,000
6,500
5 เมตร
380V./ 1x4 SM.
5 เมตร
เมตรละ 800
เมตรละ 200
เมตรละ 50
เมตรละ 350
48,100 - 60,000
7,500
5 เมตร
380V./ 1x4 SM.
5 เมตร
เมตรละ 900
เมตรละ 300
เมตรละ 50
เมตรละ 350

กรณีใช้ขาเหล็กแขวน Condensing Unit
ขาแขวน Condensing Unit
  • ขาแขวน Condensing Unit (QM) ขาเล็ก ชุดละ 500 บาท
  • ขาแขวน Condensing Unit (QM) ขาใหญ่ ชุดละ 800 บาท
ขาแขวน Condensing แบบกระเช้า
  • ขาแขวน Condensing Unit ขากระเช้า ชุดละ 800 บาท
การเจาะผนังคุณจึงมั่นใจได้เลย ผนังบ้านจะไม่แตกไม่ร้าวด้วยสว่าน Holesaw เจาะผนังหัวเพชรขนาด 3 นิ้ว (75 mm.)
หมายเหตุ / Remark
1. ระยะเวลาในการติดตั้งขึ้นอยู่กับสถานที่หน้างาน โดยเวลาเฉลี่ย 2-4 ชั่วโมง
2. ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานที่หน้างาน หรือ ติดตั้งตามแบบผู้ว่าจ้างกำหนด
3. ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat 7%
4. รับประกันงานติดตั้งระบบน้ำยารั่วซึม 1 ปี
ชุดรางครอบท่อ
ประโยชน์ของรางครอบท่อ
  1. เพื่อความสวยงาม
  2. ช่วยยืดอายุการใช้งานของฉนวน ความร้อนที่หุ้มท่อ
  3. ป้องกันการกัดแทะของสัตว์ได้
  4. สีสันเข้ากับผนังของบ้าน